Thursday, June 30, 2005

ทิศทางของอิหร่านหลังการเลือกตั้ง



คงทราบกันดีแล้วว่าในที่สุดนาย Mahmoud Ahmadinejad อดีตนายกเทศมนตรีของกรุงเตหะราน ซึ่งเป็นพวกอนุรักษ์นิยมสุดโต่งก็ได้ก้าวขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของอิหร่าน เอาชนะคู่แข่งคนสำคัญอย่างนาย Akbar Hashemi Rafsanjani อดีตประธานาธิบดีอิหร่านช่วงระหว่างปี 2532 – 2540 (นานพอดู) และนักการเมืองมือเก๋าไปได้ ก่อนหน้านี้ผมได้แต่เฝ้ามองและติดตามข่าวคราวเกี่ยวกับอิหร่านอยู่ห่างๆ ด้วยเหตุผลสองประการคือ หนึ่ง อิหร่านเป็นประเทศที่มีแหล่งก๊าซธรรมชาติสำรองใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากรัสเซีย และ สอง อิหร่านมีปัญหาขัดแย้งกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง (รวมถึงพี่เบิ้มอย่างสหรัฐอเมริกาและกลุ่มสหภาพยุโรป) อยู่เป็นประจำ อย่างไรก็ดี ผมก็เริ่มที่จะลดระยะห่างของการเฝ้ามองและติดตามลงมาเรื่อยๆ เนื่องจากบทบาทของอิหร่านบนเวทีโลกเริ่มทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการที่อิหร่านมีปัญหาความขัดแย้งกับสหรัฐฯ เรื่องการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ ดังนั้นผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ของอิหร่านในครั้งนี้จึงมีความสำคัญยิ่งทั้งในแง่ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ ในอนาคต

นอกเหนือจากประธานาธิบดีแล้ว อิหร่านมีนาย Ayatollah Seyed Ali Khamenei เป็นประมุขสูงสุด ซึ่งเป้นผู้นำทั้งด้านศาสนจักรและอาณาจักร ตำแหน่งนี้มีอำนาจถอดถอนประธานาธิบดีได้ แม้ว่าประธานาธิบดีคนนั้นจะได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชนก็ตาม ประธานาธิบดีคนก่อนหน้านี้มีชื่อว่านาย Mohamed Khatami ซึ่งได้พยายามปฏิรูปประเทศเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันให้เกิดระบอบประชาธิปไตยตามหลักศาสนาอิสลามขึ้นในอิหร่านจนเป็นผลสำเร็จ การปฏิรูปทางการเมือง สังคม และวิชาการ เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปทางเศรษฐกิจ การให้สิทธิและเสรีภาพแก่ประชาชนและสื่อมวลชนมากขึ้น เหล่านี้สำเร็จบ้างและไม่สำเร็จปนเปกันไป อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านกับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะกับประเทศตะวันตกนั้นไม่ค่อยจะสู้ดีนัก โดยมีประเด็นการผลิตอาวุธนิวเคลียร์เป็นประเด็นหลัก รวมถึงการที่สหรัฐฯ กล่าวหาว่าอิหร่านพยายามที่จะเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในประเทศของอิรักและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ดังนั้นผลการเลือกตั้งที่ออกมาว่านาย Ahmadinejad เป็นผู้ชนะการเลือกตั้งจึงเป็นเรื่องน่าประหลาดใจในแวดวงนักการทูตและสื่อมวลชนต่างประเทศ เนื่องจากเขาไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ต่างจากนาย Rafsanjani ซึ่งเป็นที่รู้จักดีในหมู่บุคคลชั้นสูง รวมทั้งมีนโยบายการรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ที่ชัดเจน แต่สำหรับประชาชนทั่วไป ผลการเลือกตั้งดังกล่าวนับว่าโดนใจประชาชนอย่างเป็นที่สุด เนื่องจากภาพลักษณ์ของนาย Ahmadinejad ดูเป็นคนมือซื่อ ใจสะอาด และดูเป็นกันเอง ติดดินและประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ขณะที่นาย Rafsanjani ประชาชนยังคงคลางแคลงใจว่าอาจมีผลประโยชน์ทางธุรกิจส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง

ประธานาธิบดีคนใหม่ของอิหร่านได้รับการขนานนามว่าเป็นพวกอนุรักษ์นิยม และเป็นคนหัวแข็งอยู่พอสมควร แค่ประเด็นเกี่ยวกับเรื่องการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ก็ทำให้พี่เบิ้มอย่างสหรัฐฯ และกลุ่มสหภาพยุโรปถึงกับออกอาการผวานิดๆ โดยนาย Ahmadinejad ได้กล่าวว่า อิหร่านมีสิทธิอันชอบธรรมในการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ และหลายฝ่ายเชื่อว่า นโยบายการต่างประเทศระหว่างอิหร่านกับประเทศอื่นๆ จะยังคงคลุมเครือต่อไป ไม่เฉพาะแค่กับประเทศตะวันตกเท่านั้น แต่ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านอาจย่ำแย่ยิ่งกว่าเดิมอีก และอาจส่งผลให้อิหร่านต้องถูกทิ้งอย่างโดดเดี่ยว

นอกเหนือจากประเด็นด้านการต่างประเทศแล้ว ประเด็นที่ผมให้ความสนใจอีกประเด็นคือผลการเลือกตั้ง เนื่องจากนาย Ahmadinejad ได้คะแนนเสียงไปถึงร้อยละ 62 ของคะแนนเสียงทั้งหมด ผิดจากที่หลายฝ่ายคาดการณ์เป็นอย่างมาก เนื่องจากในช่วงแรกของการหาเสียงนาย Ahmadinejad ไม่ได้อยู่ในสายตาของฝ่ายใดเลย แต่ด้วยการเข้าถึงประชาชน การสร้างความคุ้นเคยกับประชาชน ทำให้สามารถเข้าไปนั่งอยู่ในใจของประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งมีฐานะไม่ค่อยสู้ดีนัก ทำให้เห็นได้ชัดว่าเราไม่อาจมองข้ามพลังประชาชนได้เลยแม้แต่นิดเดียว ต่อให้คุณมีนโยบายระดับดีเลิศแค่ไหน แต่คุณไม่สามารถเข้าไปนั่งในใจของประชาชนได้ ก็จบ อย่างไรก็ดี เราก็ได้เห็นความเสียหายที่เกิดขึ้นในหลายประเทศที่ประชาชนยึดในรูปลักษณ์ที่ติดดินเป็นสิ่งสำคัญในการเลือกผู้นำประเทศมากกว่าที่จะพิจารณาถึงนโยบายเป็นหลักดังจะเห็นได้จากฟิลิปปินส์ (ความเห็นส่วนตัวผม ผมแอบนับการเลือกตั้ง George W. Bush สมัยแรกเข้าไปด้วย)

การเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่านในครั้งนี้จึงเป็นที่น่าสนใจยิ่ง และน่าสนใจขึ้นไปอีกว่าต่อจากนี้ไปอิหร่านจะก้าวต่อไปอย่างไรในเวทีโลก

HK
30 มิ.ย. 48

2 Comments:

Anonymous Anonymous said...

น่าสนใจมากๆ เพื่อน ประเด็นอิหร่านกับการเมืองภายใน ซึ่งเชื่อมโยงใยกับการเมืองโลกและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นเป็นเรื่องที่มีความโดดเด่นเอกลักษณ์ในตัวเองมากๆ

มีเพื่อนคนหนึ่งเป็นคนอิหร่านหัวรุนแรง ในวิชาหนึ่ง เขาเคยเล่าให้ฟังถึงระบอบการเมือง (เผด็จการ?) ของเขาว่าเป็นเช่นไร ฟังแล้วก็อดสยองไม่ได้ เพราะดูเหมือนว่าเขาจะมีตัวแทนทางด้าน "พิธีการ" เยอะมาก มีระบบรัฐสภาซ้อนซับทับซ้อนกันไปหมด (จริงหรือไม่?)

มีอยู่วันหนึ่งได้รับอีเมล์จากเพื่อนคนนี้ ส่งจดหมายขอความช่วยเหลือไปลงทะเบียนสนับสนุนประธานาธิบดีคนที่เพิ่งได้รับชัยชนะไป โดยเขาคิดถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนกันมากที่สุด

น่าสนใจจับตามองมากๆ อย่างไรก็ช่วยจับตาแล้วมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังก็แล้วกันนะ

อยู่ทางนี้มีหลายเรื่องให้จับตา และดูเหมือนว่าประเด็นนี้จะอยู่ไกลใจกูเหลือเกินว่ะ

ขอบคุณอีกครั้ง สำหรับเรื่องหนักๆ ให้สมองทำงาน

----
My Friend,
Warmest greetings!

I need your help to urge Nobel Laureate Shirin Ebadi and Iranian
President Mohammad Khatami to support the reformist candidate, Dr.
Moein in the upcoming presidential election of June 17 in Iran.

Please read and sign the petition here:
http://www.thepetitionsite.com/takeaction/862815022

PLEASE DO NOT POSTPONE THIS. The fate of human rights and
non-violent democratic reform in Iran in the next four years might
well be decided on YOUR 30-second ACTION NOW.

-----
As you probably know the race in Iran's upcoming election is
becoming one between the reformists' candidate, Dr. Moein, and the
"millionaire mullah" Akbar Hashemi Rafsanjani. Rafsanjani served as
a two
term president before Khatami's presidency. Under Rafsanjani's
supervision, Ministry of
Intelligence (discovered and revealed in Khatami's time) became an
active murder machine, responsible for some horrific murders of
intellectuals and members of the opposition. He has no respect for
human rights and has strong belief for autocratic rule of Valayet-e
Faghih (the rule of unelected supreme leader as Islamic
Jurispudent). But he is indeed the most famous candidate in this
election.

The reformists need to persuade the reform-minded constituency to go
to ballets on the election day. Otherwise, a large part of voters
who vote no matter what, and usually vote for candidates with the
highest name recognition (as observed in previous elections) will
make Rafsanjani the next president.

Khatami and Ebadi, if lend their name recognition to Moein, could
help him win, even with a rather low turn-out.

Please read the petition at
http://www.thepetitionsite.com/takeaction/862815022

and forward this to your friends.

have a good summer,

10:31 AM  
Blogger kasab71 said...

ดีมาก แล้วมาเล่าให้ฟังด้วยนะ ว่าใครชนะ

8:52 AM  

Post a Comment

<< Home